เดี๋ยวนี้ได้มักยินคำถามประเภทที่ว่า "คิดว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต?"
"คิดว่าจะเป็นอะไรเมื่ออายุ 30 ?"
แต่น้อยครั้งมากที่จะเคยถูกถามคำถามประเภทที่ว่า
"คิดว่าเมื่ออายุ30จะทำอะไรคืนกลับให้สังคมที่อาศัยอยู่ได้บ้าง?"
นอกจากตามโฆษณาประเภทส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่ทำเรื่องแย่ๆไว้จนต้องทุ่มเงินซื้อสื่อ เพื่อสร้างภาพ?
มันคงเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงลัทธิทุนนิยมและบริโภคนิยมที่ซักวันมันอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ความเป็นไทยก็ได้ใครจะรู้
และมีคำถามหนึ่งที่ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินใครถามว่า
"คิดว่าจะทำอะไรให้กับสังคมและคนที่อยู่เบื้องหลังได้บ้างในเวลาที่คุณตายจากโลกนี้ไปแล้ว?"
มันอาจจะเป็นคำถามที่ฟังดูประหลาด
ตายแล้วจะไปทำอะไรได้?
ไม่ผิดหรอก แล้วมันยังไม่ใช่แค่คำถามประหลาดๆ แต่เป็นคำถามที่ตอบยากมากๆซะด้วย
ในวันหนึ่งขณะที่กำลังเดินดูและอ่านเรื่องราวในหอพระราชประวัติของสมเด็จย่า บนพระตำหนักดอยตุง
ตัวอักษรเรียบๆ ในการจัดพื้นที่แสดงที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษหรือน่าตื่นตาตื่นใจ แต่เป็นนัยความหมายของเรื่องราวต่างหากที่พิเศษ
คุณเคยรู้มั้ยว่าสมเด็จย่าทรงวางแผนโครงการพัฒนาพื้นที่บนภาคเหนือที่ซึ่งเติมไปด้วยปัญหายาเสพติด สงคราม และความแห้งแล้งอดอยากเมื่อใด?
คำตอบคือ สมเด็จย่าทรงมีพระราชดำริและเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นเมื่อพระองค์มีพระชนมมายุ 88 พรรษา
และจะมีอีกซักกี่คนที่รู้ว่าโครงการพัฒนาดอยตุง
มีระยะเวลาและแผนโครงการยาวถึง 30 ปี?
เมื่อนับถึงเวลานี้ เป็นเวลา 10 ปีแล้วหลังจากที่สมเด็จย่าจากไป
โครงการนี้ยังคงถูกดำเนินการต่อและขยายพื้นที่การช่วยเหลือและเป็นโครงการแบบอย่างให้กับประเทศซึ่งมีปัญหาทั้งทางด้านสงครามและยาเสพติด
เช่น อัฟกานิสถาน พม่า อินโดนิเซีย
บางคนยังทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกได้แม้กระทั่งเวลาที่จากไปแล้ว
มันทำให้ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า
"คิดว่าจะทำอะไรให้กับสังคมและคนที่อยู่เบื้องหลังได้บ้าง?"
แน่นอนว่าคงต้องใช้เวลามากทีเดียวที่จะตอบคำถามนี้
แต่การตอบคำถามได้ก็ไม่สำคัญเท่ากับ
การทำอย่างที่พูดออกไปจริงๆ
1 ความคิดเห็น:
อย่าถามตัวเองว่า
อีก 10 ปีจะทำอะไรให้สังคมบ้าง
อยากถามว่า ตอนนี้ ทำไรให้สังคมบ้างแล้วหรือยัง
พรุ่งนี้ไม่ได้มีสำหรับทุกคนเสมอไป
มีมือมีเท้า ครบ 32 แล้ว
ทำไรให้ได้ตั้งหลายอย่าง
โลกนี้
เราแบ่งกันอยู่
ไม่ได้แย่งกันอยู่
แสดงความคิดเห็น